มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราผ่าน #TechSafeSpace เพื่อสร้างอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน

คลังอินโฟกราฟิก

การใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตของใครก็ตามที่เรารู้จัก รวมถึงตัวเราเองด้วย​  ​​แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยการสนับสนุนและฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมใน พื้นที่ปลอดภัยบนเทคโนโลยี(Tech Safe Space) ได้​

คำแนะนำสำหรับภาครัฐ

เรียนรู้เพิ่มเติม

คำแนะนำสำหรับบุคคลทั่วไป

ชมวิดีโอสัมภาษณ์ฉบับเต็มจาก UNODC เพื่อเรียนรู้ว่าการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดสามารถส่งผลต่อชีวิตของตัวเราและผู้คนรอบข้างได้อย่างไร แคมเปญ #TechSafeSpace มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย การใช้เทคโนโลยีอย่างรับผิดชอบและความเท่าเทียมทางดิจิทัลทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความครอบคลุมในเทคโนโลยี

แม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ช่องว่างทางดิจิทัลยังคงอยู่ ซึ่งจำกัดการเข้าถึงและโอกาสสำหรับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการที่ผู้หญิงมีบทบาทที่ต่ำกว่าปกติ คิดเป็นเพียง 35% ของแรงงานด้านเทคโนโลยีในภูมิภาค

นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมามีการนำเทคโนโลยี มาใช้ในการกระทำความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของเพศหญิงทั้งในโลกออนไลน์และโลกออฟไลน์ ซึ่งสิ่งนี้ แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องปกป้องและส่งเสริมสิทธิสตรีในยุคดิจิทัล

สิทธิมนุษยชนและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย

เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออก การเซ็นเซอร์ออนไลน์โดยเจ้าหน้าที่จำกัดการเข้าถึงข้อมูล หรือการปิดกั้นความเห็นต่างนั้นล้วนเป็นเรื่องที่น่ากังวล

เหตุการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการปกป้องเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกอินเทอร์เน็ต รวมถึงต่อต้านการเซ็นเซอร์ และการขัดขวางการทำงานของนักข่าวและผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ  

มาตรา 19 ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน "ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็น และการแสดงออกสิทธินี้ รวมถึงอิสรภาพในการที่จะถือเอาความคิด โดยปราศจากความแทรกสอด และที่จะแสวงหา รับและแจกจ่ายข่าวสารและความคิดเห็นไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ และโดยไม่คำนึงถึงเขตแดน"

ข้อมูลที่ผิดและข้อมูลที่ถูกบิดเบือน​

ข้อมูลที่ผิดคือการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องโดยไม่มีเจตนาบิดเบือน​  ​​ในขณะที่ข้อมูลที่บิดเบือนคือการเผยแพร่ข้อมูลโดยเจตนาที่หลอกลวงและก่อความอันตราย​   ​​

ทั้งสองอย่างสามารถถูกเผยแพร่โดยผู้กระทำหลายฝ่ายและมีผลกระทบร้ายแรง ได้แก่ :​  

​​- บ่อนทำลายสิทธิมนุษยชน​  ​​
- ขัดขวางนโยบายสาธารณะ​  
​​- ความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงวิกฤตหรือความขัดแย้ง​  

องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ (TOC)​​คืออะไร?

​  ​​องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ หรือ TOC มีความ​​เกี่ยวข้อง​​กับ​​การดำเนินการทางอาญา​​ระหว่างประเทศในหลากหลายรูปแบบ เช่น การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การฟอกเงิน และอาชญากรรมทางไซเบอร์  TOC ทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปรับตัวเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากตลาด และสร้างวิธีการก่ออาชญากรรมใหม่ ๆ โดยก้าวข้ามขีดจำกัดทาง​​พรมแดนของประเทศ​​ และไม่คำนึงถึงข้อจำกัดทางวัฒนธรรม สังคม และกฎหมาย​
วิธีที่องค์กรอาชญากรรมข้ามชาตินำวิศวกรรมสังคมมาใช้ในการฉ้อโกงแบบที่ใช้ไซเบอร์​

TOC ใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมเพื่อใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของผู้ใช้ โดยจัดการให้ผู้ใช้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หรือให้สิทธิ์การเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตเพื่อรับเงินโดยตรง หรือรับข้อมูลที่เป็นความลับเพื่อก่ออาชญากรรมในภายหลัง​  แม้ว่าการติดต่ออาจเกิดขึ้นทางโทรศัพท์หรือต่อหน้าก็ตาม แต่อาชญากรมักเลือกที่จะใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลัก

การชำระเงินด้วยคริปโทเคอร์เรนซีสำหรับกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย​

องค์กรอาชญากรรมใช้ประโยชน์จากการไม่เปิดเผยตัวตนแฝงในรูปแบบเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งใช้กลยุทธ์เพื่อปิดบังที่มาของเงินทุน รวมถึงการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และบริการผสมผสานเพื่อปะปนเหรียญที่ใช้ในอาชญากรรมเข้ากับเหรียญที่ถูกกฎหมาย รวมถึงการใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลหลายๆ ใบ เพื่อปกปิดเส้นทางที่จะเชื่อมโยงไปสู่ร่องรอยทางอาชญากรรม​

การค้ามนุษย์ในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ​

กลุ่มอาชญากรได้พัฒนาและดำเนินการตามแผนที่ซับซ้อนเพื่อฉ้อโกงประชากรทั่วภูมิภาค พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากเหยื่อของการค้ามนุษย์ในการก่ออาชญากรรม

ชมวิดีโอแอนิเมชันจากแคมเปญ Tech Safe Space โดย UNODC เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย และการใช้เทคโนโลยีอย่างรับผิดชอบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้