เช็กก่อนแชร์ (Beware The Share) คืออะไร

สวัสดีทุกคน ลองเข้าไปดูวิดีโอและเนื้อหาอื่น ๆ ของเราบนเว็บไซต์สิ คุณจะพบข้อมูลมากมายที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้คุณตกที่นั่งลำบากและช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเมื่อใช้แพลตฟอร์มออนไลน์
อย่าลืมว่าคุณมีโอกาสเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เช็กก่อนแชร์เสมอ!

วิดีโอ

มาทดสอบทักษะความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ของคุณกันดีกว่า

คะแนน: / 4

คำถาม: / 4

คำนิยาม

การล่อลวง หมายถึง

การล่อลวงบนโลกออนไลน์ คือ วิธีการที่คนบางกลุ่มบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจเป็นคนแปลกหน้า เพื่อน หรือคนดัง พยายามขอ “ภาพโป๊เปลือย” (สื่อที่มีเนื้อหายั่วยุทางเพศ) ของคุณ

สิ่งที่ควรรู้คือ 

  1. คนเหล่านี้ดูธรรมดาทั่วไปไม่มีทีท่าว่าจะเป็น “ผู้ล่อลวง”
  2. คนเหล่านี้อาจมีเวลาให้คุณเหลือเฟือและเสนอเงินให้คุณหยิบยืม และแสร้งทำเป็น “เพื่อน” ของคุณ
  3. คนเหล่านี้จะใช้เวลาเพื่อค่อย ๆ หลอกให้คุณตายใจ โดยเริ่มจากการขออะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ จากคุณ….
  4. คนเหล่านี้อาจแชร์เนื้อหาทางเพศให้กับคุณเพื่อหลอกล่อ
  5. คนเหล่านี้อาจขอให้คุณเก็บการสนทนาไว้เป็นความลับ
  6. พยายามหลอกให้คุณเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
  7. ถ้าคุณเห็นว่ามีใครสักคนเริ่มแสดงความคิดเห็นที่ส่อไปในเรื่องเพศหรือขอภาพที่มีลักษณะลามกอนาจาร ให้หยุดการสนทนาทันที แล้วปลีกตัวออกมา
  8. เช็กก่อนแชร์!

การส่งข้อความสนทนาในเรื่องเพศ หมายถึง

การบังคับข่มขู่ทางเพศกับเด็กหรือที่เรียกว่า “การส่งข้อความสนทนาในเรื่องเพศ” คือการแชร์รูปภาพที่สื่อถึงเรื่องเพศผ่านโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องถูกกฎหมายหากเกิดขึ้นระหว่างผู้ใหญ่ที่ให้การยินยอม แต่ถ้าเกิดขึ้นในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นจะถือว่าผิดกฎหมาย ในกรณีที่ผู้กระทำการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายยังไม่บรรลุนิติภาวะ การกระทำเช่นนี้อาจมีผลทางอาญาต่อทั้งคนถ่ายทำและคนรับรูปภาพที่สื่อถึงเรื่องเพศดังกล่าว ซึ่งอาจถือเป็นความผิดทางอาญา

ข้อควรระวังเมื่อส่งข้อความสนทนาในเรื่องเพศ

  1. หากคุณหรือเพื่อนของคุณอายุต่ำกว่า 18 ปี และคุณแชร์รูปภาพที่ยั่วยุทางเพศของแต่ละฝ่าย การกระทำเช่นนี้ถือเป็นความผิดทางอาญา
  2. หากคุณอายุต่ำกว่า 18 ปี แล้วถ่ายภาพหรือวิดีโอที่สื่อถึงเรื่องทางเพศของตัวเองและแชร์กับบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใด การกระทำเช่นนี้ถือเป็นความผิดทางอาญา
  3. หากคุณอายุมากกว่า 18 ปีและแชร์รูปภาพที่สื่อถึงเรื่องเพศของผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีกับบุคคลหนึ่งไม่ว่าจะมีอายุเท่าใด การกระทำเช่นนี้ถือเป็นความผิดทางอาญา
  4. เช็กก่อนแชร์

การล่วงละเมิดทางเพศจากรูปภาพ (Image-based abuse หรือ IBA) หมายถึง

การล่วงละเมิดจากรูปภาพ (Image-based abuse หรือ IBA) เกิดขึ้นเมื่อรูปภาพหรือวิดีโอส่วนตัวถูกแชร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบุคคลในสื่อดังกล่าว ซึ่งรวมถึงรูปภาพหรือวิดีโอที่ได้รับการดัดแปลงผ่านทางดิจิทัล (โดยใช้ซอฟต์แวร์ตัดต่อรูปภาพหรือวิดีโอ)

การกระทำเช่นนี้พบได้บ่อยมากกว่าที่คุณคิด แล้วถ้าคุณพบว่าตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์นี้ ขอให้รู้ไว้ว่า

  1. นี่ไม่ใช่ความผิดของคุณ คุณไม่ได้ทำอะไรผิด
  2. คุณอาจรู้สึกกังวลและเป็นทุกข์
  3. ไม่ต้องห่วง ทุกปัญหาย่อมมีทางออก !
  4. บอกพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ใหญ่ที่คุณไว้ใจ
  5. ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามลิงก์ด้านล่าง
  6. คุณจะได้รับความช่วยเหลือ
  7. สถานการณ์จะได้รับการแก้ไข

สมมติว่าคุณตกอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้

คนแปลกหน้าติดต่อคุณผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

คำแนะนำ

  1. หลีกเลี่ยงและไม่ต้องสนใจ หากเป็นไปได้ ไม่ควรตอบรับคำขอเป็นเพื่อนจากคนที่มีเพื่อนร่วมกับคุณน้อย
  2. อย่ามีส่วนร่วมในการสนทนาที่เปิดสาธารณะ เพราะเป็นวิธีที่คนแปลกหน้าใช้เพื่อเริ่มล่อลวงผู้คน
  3. อย่าหลงเชื่อคำสัญญาลม ๆ แล้ง ๆ เช่น การเสนอเงินสดหรือของขวัญที่เพิ่มมูลค่าขึ้นเรื่อย ๆ

เพื่อนขอรูปภาพของคุณที่ส่อไปในทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง

คำแนะนำ

  1. อธิบายให้เพื่อนรู้ว่าการกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งคู่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
  2. โน้มน้าวให้เพื่อนฉุกคิดได้ว่าความคิดนี้ไม่ดี โดยเฉพาะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งคู่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
  3. ถ้าเพื่อนเซ้าซี้หรือบังคับขู่เข็ญโดยไม่พยายามทำความเข้าใจ ให้บอกเรื่องนี้กับผู้ปกครองคนใดคนหนึ่งของคุณหรือผู้ใหญ่ที่คุณไว้ใจ

แฟนสาว/แฟนหนุ่มของคุณพยายามให้คุณมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเพศผ่านเว็บแคมหรือวิดีโอคอล

คำแนะนำ

  1. พยายามคุยกับแฟนให้ชัดเจนว่าคุณไม่สะดวกใจที่จะทำเช่นนั้น
  2. ลองเปลี่ยนเรื่องคุย หรือพูดถึงเรื่องอื่นไปเลย
  3. อธิบายว่าการกระทำเช่นนี้ผิดกฎหมายและอาจส่งผลกระทบที่เป็นอันตราย

ติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ

หากคุณคิดว่ากำลังถูกล่วงละเมิด ขอให้รู้ว่าปัญหามีทางออกเสมอ คุณสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานด้านล่าง

Image

LAO PDR

Image

MALAYSIA

Image

PHILIPPINES

Image

VIETNAM

Image

CAMBODIA


Image

INDONESIA

เกี่ยวกับแคมเปญ

เช็กก่อนแชร์ (Beware The Share) เป็นแคมเปญที่ออกแบบและดำเนินการโดยสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime หรือ UNODC) เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับแนวทางทางกฎหมายที่ปกป้องผู้เยาว์จากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยใช้สโลแกน “เช็กก่อนแชร์ (Beware the Share)” เพื่อมุ่งสร้างความตระหนักรู้ในกลุ่มผู้เยาว์ที่อาจไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบในระยะยาวและระยะสั้นของการร่วมกระทำการที่เป็นอันตรายและอาจผิดกฎหมายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งอาจส่งผลลบทั้งทางจิตใจ สังคม และกฎหมายต่อทั้งตัวเองและคนอื่น ๆ

แคมเปญ “เช็กก่อนแชร์ (Beware the Share)” ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้เยาว์คิดไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะตัดสินใจแชร์เนื้อหาที่อาจเป็นอันตรายให้กับเพื่อนหรือคนแปลกหน้า