ในปี 2565 มีการเปิดเผยว่า ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น
ผู้บริโภคหนึ่งในสี่คน จะตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต

ดูคลิปวิดีโอของเรา >>>

ทุกวันนี้ มิจฉาชีพใช้ทุกช่องทางรวมถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น

การหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตอยู่ใกล้ตัวเรา

ทุกๆ วัน มิจฉาชีพจะส่งอีเมลหาผู้คนหลายพันฉบับและโทรหาผู้คนเป็นพัน ๆ คน และบ่อยครั้งที่สามารถหลอกผู้คนเหล่านั้นได้ คุณเองก็อาจจะเจอกับมิจฉาชีพออนไลน์เข้าสักวัน ถึงแม้วันนี้คุณจะยังไม่ได้พบเจอ

ระวังให้ดี อีเมลและเว็บไซต์ปลอมกำลังระบาดหนัก

อีเมลและเว็บไซต์ปลอม เป็นเทคนิคในการหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณ ไม่ว่าจะเป็น หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือรหัสผ่าน ผ่านการสวมรอยเป็นเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ เป็นเพื่อนของคุณ หรือปลอมเป็นเว็บไซต์อื่นๆ ที่เรามักจะทำธุรกรรมในชีวิตประจำวัน

อัตลักษณ์หรือตัวตนของเราก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน

การขโมยอัตลักษณ์ (แอคเคาท์ปลอม) คือการที่มิจฉาชีพขโมยเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปสวมรอยเพื่อทำธุรกรรมที่เจ้าตัวไม่รับรู้หรือไม่ยินยอม โดยเป็นไปได้ทั้งการนำเอาอัตลักษณ์นี้ไปหลอกลวง ฉ้อโกง กู้เงิน ขโมยเงิน ไปจนถึงการโยนความผิดทางอาชญากรรมให้เหยื่อรับโทษแทนตนเอง

สถิติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า :

1,000+

ทุก ๆ ปีมีคนกว่าหนึ่งพันคนตกเป็นเหยื่อของ "ประกาศหางานปลอม" โดยเหยื่อจะสูญเสียเงิน ถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว ไปจนถึงพัวพันกับขบวนการค้ามนุษย์

45%

งานวิจัยที่ดำเนินการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า 45% ของผู้ตอบแบบสำรวจ 1,618 ราย ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพหลอกรักออนไลน์

11 ล้านครั้ง

คือจำนวนรายการตรวจจับการขโมยอัตลักษณ์ในปี 2565 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เช็คให้ดีว่าคุณตกอยู่ในความเสี่ยงหรือเปล่า

ลองจิตนาการว่าวันหนึ่งคุณได้รับสายจากใครสักคนที่คุณเชื่อถือ ปลายสายบอกว่าเขากำลังตกอยู่ในสถาการณ์ที่ยากลำบาก และคุณสามารถช่วยเขาได้โดยการโหลดแอปพลิเคชั่น หลังจากคุณทำตามคำขอนั้นไม่นาน มือถือของคุณถูกล็อกเอ้าท์ออกจากทุกแพลตฟอร์ม และแย่ที่สุดคือคุณสูญเสียเงินทั้งหมดของคุณไป

หากเป็นเช่นนี้ คุณรู้ไหมว่าต้องทำยังไงต่อไปดี?

ต้องยกระดับความปลอดภัย

การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยจากการโจรกรรมคงเป็นเรื่องยาก แต่การระมัดระวังและสังเกตสัญญาณเตือนภัย จะสามารถช่วยป้องกันการหลอกลวงออนไลน์ได้

เรียนรู้เพิ่มเติม