การพัฒนาเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางระบบดิจิทัล ส่งผลให้การเรียกค่าไถ่ไฟล์ (ransomware) เติบโตขึ้นอย่างมาก โดยนักเรียกค่าไถ่เหล่านี้พุ่งเป้าไปที่ผู้คนจากทุกภาคส่วน ตัวอย่างเช่น:
1. ภาคสาธารณสุข : เนื่องจากทางภาคสาธารณสุขมองว่าการสูญเสียโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลขององค์กร เป็นเรื่องร้ายแรงที่นำไปสู่เหตุอันตรายถึงชีวิตของลูกค้า ผู้ป่วย หรือพนักงานและบุคลากรในองค์กรได้ ดังนั้นภาคสาธารณสุขจึงมักตกเป็นเป้าของการโจมตี เนื่องจากทุกวินาทีมีค่าถึงชีวิต
2. ภาคการศึกษา : สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และหลายครั้งงบประมาณที่ไม่ได้รับความสำคัญก็คืองบประมาณของแผนกไอที เมื่อมีทรัพยากรจำกัด แนวโน้มที่จะถูกอาชญากรไซเบอร์โจมตีและเรียกค่าไถ่ข้อมูลจึงมีมากขึ้น เนื่องจากไม่มีบุคลากร องค์ความรู้ หรืออุปกรณ์ที่เพียงพอต่อการรับมือ
3. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) : ภาคธุรกิจขนาดเล็กมักจัดสรรงบประมาณด้านการป้องกันความปลอดภัยทางระบบไซเบอร์ในอัตราส่วนที่น้อยถ้าเทียบกับงบประมาณด้านอื่นๆ ส่วนหนึ่งด้วยงบประมาณที่มีอยู่จำกัด และจากความเข้าใจผิดที่ว่าธุรกิจขนาดเล็กจะไม่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของเหล่าอาชญากรไซเบอร์
4. ภาคกฎหมาย : หน่วยงานทางด้านกฎหมายแหล่งรวบรวมข้อมูลลับจำนวนนับไม่ถ้วน รวมไปถึงข้อมูลของหน่วยงานที่อาจเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยระดับชาติและนานาชาติ ข้อมูลลับนี้จึงเป็นเป้าหมายที่นักเรียกค่าไถ่ไฟล์สนใจเป็นพิเศษ
5. ภาคธุรกรรมทางการเงิน :โดยปกติแล้วสถาบันการเงินมีข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเช่น รายละเอียดบัตรเครดิต หมายเลขประกันสังคม ข้อมูลการติดต่อ ทำให้กลายเป็นเป้าหมายที่แสนสมบูรณ์แบบสำหรับอาชญากรไซเบอร์ได้เช่นกัน